ดูได้ด้วยเบราเซอร์ใดๆ - โครงการรณรงค์เพื่อระบบเวิร์ลไวด์เว็บที่ไม่ขึ้นกับเบราเซอร์แบบใดแบบหนึ่ง
เปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้าย 24 มีนาคม 2540
ข้อสังเกต: เว็บเพจหน้านี้ เขียนโดย แครี่ ดี เบอร์นสตีน เพื่อสนับสนุน โครงการรณรงค์การเขียนเว็บเพจ ให้ "อ่านได้ด้วยเบราเซอร์ใดๆ" ถ้าคุณเข้ามาที่นี่ จากเว็บไซต์ ที่มี โลโก้ "Best Viewed With Any Browser" (ซึ่งอาจอยู่ในรูปตัวอักษรหรือรูปภาพ) นั่นแสดงว่า ผู้เขียนเว็บไซต์นั้น เห็นด้วยกับโครงการนี้ และได้เข้าร่วมกัน รณรงค์ต่อต้าน การเขียนเว็บเพจ ที่ออกแบบมา สำหรับเบราเซอร์ แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น โปรดอ่านต่อไปเพื่อท่านจะได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ เรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น และบางทีท่านอาจจะอยากจะมีส่วนร่วม กับโครงการนี้บ้างก็ได้
"ใครก็ตามที่ประกาศว่า เว็บเพจนี้ใช้เบราเซอร์ X จะดูได้ดีที่สุด กำลังหวนกลับ ไปหาวันเก่าๆอันเลวร้าย ซึ่งเกิดขึ้นก่อน ที่จะมีเวิร์ลไวด์เว็บ ในเวลาอันเลวร้ายนั้น คุณมีโอกาสน้อยมาก ที่จะได้อ่านข้อมูล ที่เขียนขึ้นด้วย คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โปรแกรมประมวลผลคำแบบอื่น หรือในเครือข่ายอื่น"
-- -ทิม เบอร์เนอร์ ลี ใน Technology Review, July 1996
ถ้าคุณเพิ่มเข้า มาที่เว็บไซต์นี้ คุณอาจจะสนใจว่า โลโก้ "ดูได้ด้วยเบราเซอร์ใดๆ" เป็นอย่างไร ดิฉันมีคำตอบ ซึ่งก็ได้แก่ว่า ดิฉันรู้สึกไม่สบายใจเลย ที่แนวโน้มการเขียนเว็บเพจ ในปัจจุบันนี้ มักจะเขียนให้เบราเซอร์เพียง ยี่ห้อเดียว หรือรุ่นเดียวเท่านั้น ไม่สนใจเบราเซอร์อื่นๆ ดิฉันรำคาญมาก ที่ไปเยี่ยมเว็บไซต์แห่งหนึ่ง แล้วพบว่าไม่ สามารถอ่าน เว็บไซต์นั้นได้ จนกว่าจะกลับมาใหม่ โดยใช้โปรแกรมอย่างเน็ตสเคปหรืออินเทอร์เน็ต เอกซพลอเรอร์ นอกจากนี้ดิฉัน รู้สึกรำคาญเช่นกัน เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต็ ซึ่งแม้จะเขียนให้เบราเซอร์ใดๆ แต่ใช้แท็กที่มีแต่ เบราเซอร์ไม่กี่แบบเท่านั้น ที่สนับสนุน และไม่ช่วยให้เบราเซอร์ ที่เป็นตัวอักษรล้วนๆ สามารถอ่านข้อมูลในไซต์นั้นๆได้
ดิฉันอยากจะหมุน แนวโน้มนี้กลับไปอีกทาง ดิฉันรู้ว่าไม่อาจ เปลี่ยนเว็บทั้งหมด ได้ตามลำพังคนเดียว แต่ถ้าเราช่วยๆกัน เรื่องก็ง่ายขึ้น เว็บไซต์นี้เอง ที่เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ เพื่อให้เวิร์ลไวด์เว็บ เป็นที่ที่ปลอดจากเบราเซอร์ แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ และปลอดจากระบบปฏิบัติการ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบหนึ่งแบบใด โดยเฉพาะเช่นกัน ดังนั้นดิฉันจึงประกาศป้าย "ดูได้ด้วยเบราเซอร์ใดๆ" เพื่อเน้นว่าดิฉัน เขียนเว็บเพจนี้ขึ้นมา เพื่อให้สามารถดูได้ ด้วยเบราเซอร์แบบใด หรือรุ่นใดก็ได้ทั้งสิ้น หน้าบางหน้าอาจดูดีกว่า เมื่อใช้เบราเซอร์บางแบบ แต่หน้าเหล่านั้น ควรจะอ่านได้โดยใช้เบราเซอร์ใดๆก็ได้ ดิฉันใช้แท็กเฉพาะ ของแต่ละเบราเซอร์ ก็แต่ในกรณีที่เหมาะสม และก็ต่อเมื่อมีเหตุผลที่เพียงพอ และในกรณีที่ใช้ภาษาโปรแกรม ที่ใช้ได้แต่กับเบราเซอร์บางตัว เช่น แผนที่ภาพ กรอบรูป หรือจาวา ฯลฯ ดิฉันจะพยายาม อย่างดีที่สุด เพื่อให้เบราเซอร์ ที่ไม่สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ สามารถอ่านเนื้อหาได้ ถ้าคุณพบว่ามีสิ่งใด ในเว็บเพจของดิฉัน ที่มีเบราเซอร์บางตัวไม่สนับสนุน หรือทำงานไม่ได้ ดิฉันจะพยายามแก้ไข (โปรดบอกชื่อและรุ่นของเบราเซอร์นั้นๆด้วย)
ดิฉันขอเชิญชวน ให้ใครที่อยากจะเข้าร่วมกับโครงการนี้ คัดลอกรูปภาพในไซต์นี้ เพื่อนำไปใช้ ในไซต์ของตนเอง หรือไม่ก็เปิดดู รูปภาพหลายๆรูป ที่ผู้เข้าร่วมโครงการนี้ได้วาดเอาไว้ และถ้าคุณอยาก จะวาดรูปของคุณเอง ก็เชิญได้เลย (และบอกให้ดิฉันทราบด้วย เพื่อจะได้ประกาศ ให้คนอื่นได้ใช้รูปนั้นด้วย) ดิฉันไม่ใช่ นักวาดรูปมืออาชีพ และรูปที่วาดเอง ก็ไม่สวยนัก ดิฉันอยากให้ คุณใส่ลิงค์เชื่อมโยงจากรูปภาพมาที่เว็บไซต์นี้ เพื่อที่คนอื่น จะได้รู้เกี่ยวกับ โครงการนี้ด้วย หรือไม่เช่นนั้นก็สร้างเว็บไซต์ใหม่ ของคุณเองขึ้นมา เพื่อร่วมโครงการนี้ แต่ถ้าคุณไม่อยากทำ เช่นนั้น ก็ไม่เป็นไร
นี่เป็นโค้ดที่คุณใช้ได้กับรูปภาพถ้าต้องการ
<p><a href="http://www.anybrowser.org/campaign/"> <img src="http://www.anybrowser.org/campaign/bvgraphics/anybrowser3.gif" width="88" height="31" alt="Best Viewed With Any Browser" /></agt;</p>
ถ้าคุณไม่อยาก แสดงรูปภาพ แต่อยากให้คนอื่นๆ รู้ว่าไซต์ของคุณออกแบบมา เพื่อให้อ่านได้ด้วย เบราเซอร์ใดๆก็ได้ คุณอาจจะใส่คำพูดลงไปบางแห่ง บนไซต์ของคุณ เพื่อบอกว่า ไซต์นี้ "สามารถใช้เบราเซอร์อะไรดูก็ได้" หรืออะไรในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณทำให้คำพูดนั้นๆ เชื่อมมายังหน้านี้ได้ก็จะดี หรือถ้าคุณจะเขียนเว็บไซต์เอง เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และอยากออกแบบ เว็บไซต์ให้เบราเซอร์ใดๆดูก็ได้เช่นเดียวกัน
มีเหตุผลหลักๆสองประการ ที่คุณจะใส่รูปภาพหรือคำพูดในเว็บไซต์ของคุณ ถ้าคุณออกแบบไซต์ให้ ดูได้ด้วยเบราเซอร์ใดๆ
- เพื่อให้ผู้ที่แวะเข้ามาที่ไซต์ของคุณรู้ว่า คุณได้พยายามให้ ทุกคนอ่านไซต์ของคุณได้
- เพื่อสนับสนุนให้คนอื่นๆ ออกแบบไซต์ของตน เพื่อให้ดูได้ด้วย เบราเซอร์ใดๆก็ได้
บางคนได้แนะนำดิฉันว่า น่าจะสร้างรายการคำแนะนำ เพื่อให้ใครที่ใส่รูปภาพนี้ ในเว็บไซต์ของตนปฏิบัติตาม ดิฉันไม่อยากทำเช่นนั้น เพราะรู้ดีว่า สภานการณ์ต่างๆไม่เหมือนกัน และอะไรที่เหมาะกับหน้าหนึ่ง อาจไม่เหมาะกับอีกหน้าหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ดิฉันมีคำแนะนำสั้นๆดังนี้
- พยายามให้รูปภาพ และแผนที่ภาพที่ลูกข่่าย (client side image maps) มีแท็ก ALT เพื่อให้ผู้ใช้เบราเซอร์ ที่เป็นตัวอักษรล้วนๆ สามารถอ่านได้ พยายามให้ผู้ใช้มีทุกสิ่งทุกอย่าง ที่จำเป็นในการอ่าน และท่องไปยังส่วนต่างๆของไซต์ โดยที่เขาจะใช้เบราเซอร์อะไรก็ได้
- พยายามใช้แท็กที่จำกัด เฉพาะเบราเซอร์บางแบบ เมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น และพยายามให้ทางเลือกอื่น แก่ผู้ที่ไม่ได้ใช้เบราเซอร์นั้นๆ เช่นถ้าคุณใช้เฟรม คุณควรจะใช้ เฉพาะเมื่อเฟรมจะทำให้ไซต์ของคุณ มีคุณค่ามากขึ้น หรือมีเหตุผลที่ดีพอในการใช้ ไม่ใช่เพราะว่ามันมีให้ใช้เฉยๆ คุณควรจะให้ทางเลือกแก่ ผู้ที่ไม่ได้ใช้เบราเซอร์ ที่อ่านเฟรมได้ไว้ด้วย
- อย่าใส่รูปภาพมากจนเกินไป ถ้าจำเป็นต้องมีรูปภาพ ถ้าคุณอยากจะใช้รูปภาพนั้นๆ เพื่อทำให้หน้าตาของเว็บเพจดูดีขึ้น หรือเพราะว่ารูปภาพนั้น จำเป็นต่อเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ คุณก็ใส่รูปภาพได้เลย แต่คุณควรจะให้ขนาดของรูปภาพเอาไว้ ที่แท็กของกราฟิก เพื่อไม่ให้รูปภาพนั้น มาทำให้การถ่ายโอนข้อมูลช้าลง และพยายามลดขนาดของรูปภาพ ให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่คุณจะทำได้ ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้สามารถดูได้ที่ สมาคมอนุรักษ์การใช้คลื่น หรือ Bandwidth Conservation Society
- พยายามใช้โค้ด HTML ที่ถูกต้องให้มากที่สุด คุณควรจะตรวจหน้าบนเครือข่ายของคุณด้วย A Kinder, Gentler Validator เพื่อตรวจดูว่าคุณใช้โค้ด HTML ถูกต้องหรือไม่ ดิฉันรู้ดีว่า การติดตามดูว่า รหัส HTML ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ในเมื่อมีแท็กใหม่ๆเกิดขึ้นมาตลอดเป็นเรื่องยาก แต่คุณควรพยายามให้มากที่สุด และถ้าคุณพบว่ามีใครบอกคุณว่าคุณใช้รหัสที่ไม่ถูกต้อง คุณก็ควรจะยอมรับ และแก้ไขตามนั้น
- พยายามอย่าใช้เทคนิคอย่างเช่นตาราง เพื่อให้หน้าที่คุณออกแบบ "ดูดี" ในเบราเซอร์ตัวใดตัวหนึ่ง การออกแบบของคุณเช่นนี้ มักจะออกมาน่าเกลียดมากเมื่อดูด้วยเบราเซอร์แบบอื่น เช่นแบบที่ไม่สนับสนุนตาราง แทนที่คุณจะออกแบบ เพื่อให้เบราเซอร์แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ คุณควรออกแบบ ให้เน้นหนักที่เนื้อหาก่อน แล้วค่อยกังวงเรื่องเลย์เอาท์ในภายหลัง
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงข้อแนะนำคร่าวๆ เพื่อให้ไซต์ของคุณ เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ทุกคนจริงๆ ดิฉันหวังว่าคุณจะเข้าร่วมในโครงกานี้ เพื่อให้การออกแบบสำหรับเบราเซอร์แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้นมีน้อยลง
ถ้าคุณมีคำถาม ข้อเสนอแนะ หรืออื่นๆที่อยากจะติดต่อด้วย โปรดเขียนมาหาดิฉันได้ที่ campaign AT anybrowser DOT org.
แปลโดย โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ - [email protected]